วันอังคารที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2552

สมาชิกภายในกลุ่ม

สมาชิกภายในกลุ่ม
1.นายสาโรจน์ นันทิสา
2.นางสาวจรัสศรี นวนประโคน
3.นางสาวสาวิตรี อักษรณรงค์
4.นางสาวสาวิตรี ปรีทอง
5.นายกิตติชัย สวัสดี
6.นางสาวสายธาร พ่อค้า
7.นายวีระพันธ์ กึนรัมย์

วันอังคารที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

อาณาจักร (kingdom)



ในชีววิทยา, อาณาจักร (kingdom) เป็นระดับหรือหมู่ที่ใหญ่เกือบที่สุดของสิ่งมีชีวิต ใช้ในการการจัดหมวดหมู่สิ่งมีชีวิตในโลก นักอนุกรมวิธานมี ความเห็นในการจัดหมวดหมู่แตกต่างกันไป เช่น แบ่งออกเป็น 5 อาณาจักร 6 อาณาจักร หรือ 8 อาณาจักร (แคมป์เบลล์, 1996) ซึ่งระบบที่เป็นที่นิยมใช้ในอดีตและปัจจุบันระบบหนึ่งคือระบบ 5 อาณาจักร ส่วนอีกระบบที่เริ่มแพร่หลายและคาดว่าจะได้รับความนิยมต่อไป คือระบบ 6 อาณาจักร 3 โดเมน

Linnaeus
1735
2 kingdoms
Haeckel
1866[1]
3 kingdoms
Chatton
1937[2]
2 empires
Copeland
1956[3]
4 kingdoms
Whittaker
1969[4]
5 kingdoms
Woese et al.
1977[5]
6 kingdoms
Woese et al.
1990[6]
3 domains
(ไม่จัดอันดับ)โพรทิสต์โพรแคริโอตมอเนอรามอเนอรายูแบคทีเรียแบคทีเรีย
อาร์คีแบคทีเรียอาร์เคีย
ยูแคริโอตโพรทิสตาโพรทิสตาโพรทิสตายูแคเรีย
พืช (Vegetabilia)พืชฟังไจฟังไจ
พืชพืชพืช
สัตว์สัตว์สัตว์สัตว์สัตว์

[แก้] ดูเพิ่ม

สิ่งมีชีวิต

สิ่งมีชีวิต จะมีคุณลักษณะ (properties) ที่ไม่พบในสิ่งไม่มีชีวิต อันได้แก่ความสามารถในการใช้สสารและพลังงานเป็นสำคัญ ซึ่งได้รับถ่ายทอดจากบรรพบุรุษของสิ่งมีชีวิตแรกเริ่ม อย่างไรก็ตามสิ่งมีชีวิตเริ่มแรกหรือบรรพบุรุษของสิ่งมีชีวิตซึ่งถือกำเนิดมาบนโลกกว่า 4 พันล้านปี เมื่อผ่านการวิวัฒนาการและการปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมในแต่ละช่วงเวลา ก่อให้เกิดความหลากหลายทางชีวภาพของสิ่งมีชีวิตเป็นจำนวนมากดังที่ปรากฏในปัจจุบั

นิวเคลียส

นิวเคลียส (อังกฤษ : nucleus) มีความหมายว่า ใจกลาง หรือส่วนที่อยู่ตรงกลาง โดยอาจมีความหมายถึงสิ่งต่อไปนี้ โดยคำว่า นิวเคลียส (Nucleus) เป็นคำศัพท์ ภาษาละตินใหม่ (New Latin) มาจากคำศัพท์เดิม nux หมายถึง ลูกไม้ขนาดเล็กที่มีเปลือกแข็ง (nut)

แวคิวโอล



แวคิวโอลเป็นช่องๆ ล้อมรอบด้วยเมมเบรนชนิดเยื่อยูนิตชั้นเดียว อยู่ภายในเซลล์ยูแคริโอต (eukaryotic cell) บางชนิด มักพบในเซลล์พืชส่วนใหญ่และสัตว์หลายชนิด โดยแวคิวโอลในสัตว์มักดล็กกว่าในพืช แวคิวโอลซึ่งสามารถทำหน้าที่เป็นที่เก็บ หลั่ง และถ่ายของเหลวภายในเซลล์ แวคิวโอลและสารภายในถือว่าแตกต่างจากไซโตพลาสซึม สามารถแบ่งออกได้ 4 ประเภท คือ

  1. Contractile vacuole จะพบในสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว ในอาณาจักรโพรทิสตา ทำหน้าหน้าทีรักษาสมดุลของน้ำ
  2. Food vacuole บรรจุอาหาร พบในเซลล์เม็ดลือดขาวบนสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวหรือสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม นอกจากนี้เราอาจแบ่งได้อีก เช่น Fat vacuole
  3. Sap vacuole จะเจอในเซลล์พืช ทำหน้าที่สะสมสีไอออน น้ำตาล กรดอะมิโน สะสมผลึกสารพิษในเซลล์
  4. Gas vacuole สำหรับสะสมแก๊สต่างๆ

พืช



พืช เป็นสิ่งมีชีวิตกลุ่มใหญ่ประเภทหนึ่ง (มีประมาณ 350,000 สปีชี่ส์ ถูกระบุแล้ว 287,655 สปีชี่ส์ เป็นพืชดอก 258,650 ชนิด และพืชไม่มีท่อลำเลียง 18,000 ชนิด ) อยู่ในอาณาจักรพืช (Kingdom Plantea) ประกอบด้วย ไม้ยืนต้น ไม้ดอก พืชล้มลุก และเฟิร์น พบได้ทั้งบนบกและในน้ำ เป็นสิ่งมีชีวิตที่เนื้อเยื่อส่วนใหญ่ประกอบด้วยหลายเซลล์ นิวเคลียสมีผนังเซลล์ ห่อหุ้ม เคลื่อนที่ไม่ได้ ไม่มีอวัยวะเกี่ยวกับความรู้สึก มีคลอโรฟิลล์ซึ่งเป็นสารสีเขียว ช่วยในการสังเคราะห์แสง นอกจากนี้ยังมี

ลักษณะพิเศษที่ต่างไปจากสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นก็คือการสังเคราะห์แสง แต่มีพืชจำพวกปรสิตประมาณ 300 สปีชี่ส์ที่ไม่สังเคราะห์แสงเอง แต่เกาะดูดอาหารจากพืชชนิดอื่น

สัตว์


สัตว์ เป็นสิ่งมีชีวิตกลุ่มที่ใหญ่ที่สุด จัดอยู่ใน อาณาจักรสัตว์ (อังกฤษ: Kingdom Animalia) เป็นสิ่งมีชีวิตพวกที่นิวเคลียสมีผนังห่อหุ้ม ประกอบด้วย หลายเซลล์มีการแบ่งหน้าที่ของแต่ละเซลล์เพื่อทำหน้าที่เฉพาะอย่างแบบถาวร ไม่มีคลอโรฟิลล์ สร้างอาหารเองไม่ได้ ดำรงชีวิตได้หลายลักษณะทั้งบนบกในน้ำ และบางชนิดเป็นปรสิต อาณาจักรนี้ได้แก่สัตว์ทุกชนิด ตั้งแต่สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังจนถึงสัตว์ที่มีกระดูกสันหลัง ได้แก่ พยาธิใบไม้ กบ ลิง กระต่าย ดาวทะเล แมงดาทะเล พลานาเรีย หอยสองฝา แมลงสาบ ในทางชีววิทยา มนุษย์ ก็จัดอยู่ในอาณาจักรสัตว์ โดยคำว่าสัตว์ กลายความหมายมาจากคำว่า "สตฺตฺว" ในภาษาสันสกฤตซึ่งแปลว่าสิ่งมีชีวิต[1]

ประเภทของสัตว์ สัตว์ในโลกนี้มีมากมายหลายชนิด นักวิทยาศาสตร์ได้จัดแบ่งสัตว์เป็นกลุ่ม โดยถือรูปร่างลักษณะที่เหมือนกัน หรือต่างกันเป็นสำคัญ อริสโตเติล นักวิทยาศาสตร์ชาวกรีก ใช้กระดูกสันหลังเป็นเกณฑ์ในการแบ่งสัตว์ได้เป็น 2 พวก คือ

สาหร่ายสีเขียวแกมนำเงิน



สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน (blue-green algae หรือ cyanobacteria) เป็นชื่อที่ใช้เรียกแบคทีเรียกลุ่ม หนึ่งที่มีความสามารถในการสังเคราะห์แสงได้เหมือนพืชทั่วไป แบคทีเรียกลุ่มนี้สามารถพบได้ทั่วไปในสิ่งแวดล้อมต่างๆ และเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีประโยชน์มากในทางอุตสาหกรรมและเกษตรกรรม

สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน ใช้พลังงานแสงและก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เป็นแหล่งพลังงานเพื่อใช้ในการดำรงชีวิต นอกจากนี้แล้วมันยังสามารถใช้สารอินทรีย์ต่างๆเป็นแหล่งคาร์บอน เพื่อให้ใช้การสังเคราะห์เซลล์ได้ด้วย

อาร์เคีย


อาร์เคีย เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีลักษณะคล้ายแบคทีเรีย แต่เชื่อว่ามีวิวัฒนาการแยกมา เพราะมีเยื่อหุ้มเซลล์ที่แปลกออกไป เป็นโปรคาริโอตที่อยู่ในสภาพแวดล้อมที่เลวร้ายและในมหาสมุทร ผนังเซลล์ไม่มีเปบทิโดไกลแคน กรดไขมันในเยื่อหุ้มแตกกิ่ง ไม่ไวต่อยาปฏิชีวนะ ยีนไม่มีอินทรอน RNA polymerase มีหลายชนิด บางส่วนเหมือนยูคาริโอต rRNA บางส่วนคล้ายกับของยูคาริโอตด้วยเช่นกัน กลุ่มของอาร์เคียที่สำคัญได้แก่

  • อาร์เคียที่อยู่ในสภาพเค็มจัด (extreme halophiles) เป็นอาร์เคียที่ชอบเจริญในบริเวณที่มีเกลือมาก เช่นในนาเกลือ ตัวอย่างเช่น Halobacterium halobium เป็นอาร์เคียที่สังเคราะห์แสงได้โดยใช้รงควัตถุสีม่วงที่เรียก แบคเทอริโอโรโดปซิน (bacteriorhodopsin)
  • อาร์เคียที่ชอบอากาศร้อนจัด (exthreme thermophilies) พบในน้ำที่มีอุณหภูมิสูงกว่า 100๐C หรือในแหล่งน้ำที่เป็นกรด ทำให้แหล่งน้ำที่เป็นกรดมีสีเขียว ตัวอย่างเช่น Sulfolobus ซึ่งได้พลังงานจากการออกซิไดส์เหล็กและกำมะถัน
  • เมทาโนเจน (methanogen) เป็นกลุ่มสร้างก๊าซมีเทน อยู่ในสภาพไร้ออกซิเจน เช่นในน้ำลึก ในโคลนและในดินก้นบ่อ และอยู่ในทางเดินอาหารของสัตว์รวมทั้งมนุษย์ เป็นกลุ่มที่ไวต่อออกซิเจนที่สุด หากได้รับออกซิเจนจะตาย

แแบคทีเรีย

แบคทีเรีย หรือ บัคเตรี เป็นประเภทของสิ่งมีชีวิตประเภทใหญ่ประเภทหนึ่ง มีขนาดเล็ก มองด้วยตาเปล่าไม่เห็น ส่วนใหญ่มีเซลล์เดียว และมีโครงสร้างเซลล์ที่ไม่ซับซ้อนมาก และโดยทั่วไปแบคทีเรียแบ่งได้หลายรูปแบบ

  • แบ่งตามรูปร่าง แบ่งได้หลายแบบทั้งกลม (cocci) ,แบบท่อน (bacilli,rod) ,แบบเกลียว (spiral) ซึ่งแต่ละแบบก็จะมีการจัดเรียงเซลล์ต่างกัน
  • แบ่งตามการย้อมติดสีแกรม (Gram's strand) มีได้สองลักษณะคือพวกที่ติดสีแกรมบวก (Gram positive) และที่ติดสีแกรมลบ (Gram negative) แต่บางชนิดสามารถติดสีทั้งสองเรียกว่า Gram variable ซึ่งเกี่ยวข้องกับผนังเซลล์ของแบคทีเรีย
  • แบ่งตามความต้องการใช้อ๊อกซิเจน ซึ่งมีหลายแบบคือ aerobic bacteria, anaerobic bacteria, facultativeaerobic bacteria, microaerofilic bacteria เป็นต้น
  • แบ่งกลุ่มแบคทีเรียตามแหล่งอาหารและพลังงานได้เป็น
    • ออโตโทรป (autothroph) แหล่งคาร์บอนสำหรับสร้างสารอินทรีย์มาจาก CO2 ได้แก่แบคทีเรียที่สังเคราะห์ด้วยแสงได้
    • เฮเทอโรโทรป (heterothroph) แหล่งคาร์บอนมาจากการย่อยสลายสารอินทรีย์ ได้แก่แบคทีเรียที่ดูดซับสารอาหารเป็นแหล่งพลังงานทั่วไป
    • โฟโตโทรป (photothroph) ได้พลังงานเริ่มต้นจากแสง
    • คีโมโทรป (chemothroph) ได้พลังงานเริ่มต้นจากสารเคมี

แบคทีเรียบางชนิดอยู่รอดในสภาพที่เลวร้ายหรือไม่เหมาะสมต่อการเจริญได้โดยการสร้างเอ็นโดสปอร์ (endospore) เมื่อสภาวะแวดล้อมเหมาะสม เอ็นโดสปอร์จะดูดซับน้ำและเจริญเป็นแบคทีเรียใหม่ เอ็นโดสปอร์ทำลายยาก บางชนิดอยู่ได้ถึง 100 ปี